11 มิ.ย. 2554

ข้อมูลเชิงพื้นที่

ข้อมูลเชิงพื้นที่
Spatial Distribution  การกระจายเชิงพื้นที่ 
เป็นการกระจายเชิงพื้นที่ การที่พื้นที่เิกิดการกระจุกตัวหรือกระจายตัวในบริเวณกว้างๆ ขึ้นอยู่กับพื้นที่นั้นๆว่าจะกระจายหรือกระจุกตัวในลักษณะอย่างไร เช่น การกระจายตัวของผู้ป่วยไข้เลือดออกในประเทศไทย


Spatial Differentiation ความแตกต่างเชิงพื้นที่
ในพื้นที่แต่ละที่ มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพทางกายภาพและชีวภาพ ทรัพยากรที่มีความหลาหลายแตกต่างกัน เช่น ความแตกต่างของลักษณะภูมิอากาศในประเทศไทย ภาคเหนือลักษณะอากาศเย็นและหนาวจัดในช่วงฤดูหนาวเมื่อเทียบกับภาคกลางที่มีอากาศเกือบร้อนในช่วงฤดูเดียวกัน เนื่องจากภาคเหนือมีภูเขาสูง แต่ภาคกลางส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม








Spatial Diffusion การแพร่กระจายเชิงพื้นที่
การแพร่กระจายจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยมีการกระจายอย่างรวดเร็ว ต่างจากการกระจายเชิงพื้นที่ เช่น การกระจายของเชื้อ Escherichia coli หรือ E. coli (อี. โคไล) ที่กำลังดังมากในทวีปยุโรป ทั้งที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้




Spatial Interaction ความปฏิสัมพันธ์เชิงพื้นที่
เป็นการกระทำของสองสิ่งที่มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกัน เช่น บริเวณชุมชนที่ีมีประชากรหนาแน่นก็ควรมีร้านสะดวกซื้อไว้หลายๆแห่ง เพื่อรองรับผู้คนที่เข้ามาใช้บริการ และควรตั้งอยู่ใกล้กับการจราจรสะดวก ไม่ใช่ไปตั้งอยู่ในซอยลึกๆ


Spatial Temporal ช่วงเวลาในพื้นที่
ช่วงเวลาในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไปในช่วงของการแบ่งเขตเวลา การกระทำหรือกิจกรรมที่ก็จะต่างกันออกไปตามช่วงเวลาของพื้นที่แต่ละส่วน เช่นการเปลี่ยนแปลงของอุณภูมิโลกตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1961-2006


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น