21 มิ.ย. 2554

What is GIS ?

         GIS is a computerized database management system for capture, storage, retrieval, analysis, and display of spatial (locationally defined) data (NCGIA: National Center Geographic Information and Analysis ,1989)
         GIS เป็นฐานข้อมูลการจัดการระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการจับภาพ, เก็บ, การดึง, การวิเคราะห์และการแสดงผลของข้อมูล (ตามที่กำหนดพื้นที่/สถานที่) เชิงพื้นที่และระบบข้อมูล มันสามารถใช้ในอาชีพที่การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่มีการอ้างอิงเป็นสิ่งจำเป็นใด ๆ 



ระบบฐานข้อมูล



ฐานข้อมูล (Database)
          


         ฐานข้อมูล หรือ Database ประกอบด้วยกลุ่มการจัดการ้อมูลสำหรับผู้ใช้หนึ่งคนหรือหลายๆ คน โดยทั่วไปมักอยู่ในรูปแบบดิจิทัล วิธีการแบ่งชนิดของฐานข้อมูลได้รูปแบบหนึ่งคือแบ่งตามชนิดของเนื้อหา เช่น บรรณานุกรม, เอกสารตัวอักษร, สถิติ โดยฐานข้อมูลดิจิทัลจะถูกจัดการโดยใช้ะบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งเก็บเนื้อหาฐานข้อมูล โดยอนุญาตให้สร้าง, ดูแลรักษา, ค้นหา และการเข้าถึงในรูปแบบอื่นๆ

การออกแบบฐานข้อมูล  มีความสำคัญต่อการจัดการระบบฐานข้อมูล ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลที่อยู่ภายในฐานข้อมูลจะต้องศึกษาถึงความสัมพันธ์ของข้อมูล โครงสร้างของข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลและกระบวนการที่โปรแกรมประยุกต์จะเรียกใช้ฐานข้อมูล ดังนั้น เราจึงสามารถแบ่งวิธีการสร้างฐานข้อมูลได้ 3 ประเภท
1. รูปแบบข้อมูลแบบลำดับขั้น หรือโครงสร้างแบบลำดับขั้น วิธีการสร้างฐาน ข้อมูลแบบลำดับขั้นถูกพัฒนาโดยบริษัท ไอบีเอ็ม จำกัด ในปี 1980 ได้รับความนิยมมาก ในการพัฒนาฐานข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่และขนาดกลาง โดยที่โครงสร้างข้อมูลจะสร้างรูปแบบเหมือนต้นไม้ โดยความสัมพันธ์เป็นแบบหนึ่งต่อหลาย (One- to -Many)
2. รูปแบบข้อมูลแบบเครือข่าย ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายมีความคล้ายคลึงกับฐาน ข้อมูลแบบลำดับชั้น ต่างกันที่โครงสร้างแบบเครือข่าย อาจจะมีการติดต่อหลายต่อหนึ่ง (Many-to-one) หรือ หลายต่อหลาย (Many-to-many) กล่าวคือลูก (Child) อาจมีพ่อแม่ (Parent) มากกว่าหนึ่ง สำหรับตัวอย่างฐานข้อมูลแบบเครือข่ายให้ลองพิจารณาการจัดการข้อมูลของห้องสมุด ซึ่งรายการจะประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง สำนักพิมพ์ ที่อยู่ ประเภท
3. รูปแบบความสัมพันธ์ข้อมูล  เป็นลักษณะการออกแบบฐานข้อมูลโดยจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปของตารางที่มีระบบคล้ายแฟ้ม โดยที่ข้อมูลแต่ละแถว ของตารางจะแทนเรคอร์ด ส่วน ข้อมูลนแนวดิ่งจะแทนคอลัมน์ ซึ่งเป็นขอบเขตของข้อมูล  โดยที่ตารางแต่ละตารางที่สร้างขึ้นจะเป็นอิสระ ดังนั้นผู้ออกแบบฐานข้อมูลจะต้องมีการวางแผนถึงตารางข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ เช่นระบบฐานข้อมูลบริษัทแห่งหนึ่ง ประกอบด้วย ตารางประวัติพนักงาน ตารางแผนกและตารางข้อมูลโครงการ แสดงประวัติพนักงาน ตารางแผนก และตารางข้อมูลโครงการ





http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5






ระบบจัดการฐานข้อมูล 
(Database Management System)

ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System) หรือที่เรียกว่า ดีบีเอ็มเอส (DBMS) เป็นกลุ่มโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในระบบติดต่อระหว่างผู้ใช้กับานข้อมูล เพื่อจัดการและควบคุมความถูกต้อง ความซ้ำซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูล ซึ่งต่างจากระบบแฟ้มข้อมูลที่หน้าที่เหล่านี้จะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ในการติดต่อกับข้อมูลในฐานข้อมูลไม่ว่าจะด้วยการใช้คำสั่งในกลุ่ม DML หรือ DDL หรือจะด้วยโปรแกรมต่างๆ ทุกคำสั่งที่ใช้กระทำกับข้อมูลจะถูกดีบีเอ็มเอสนำมาแปล (คอมไพล์) เป็นการปฏิบัติการ (Operation) ต่างๆ ภายใต้คำสั่งนั้นๆ เพื่อนำไปกระทำกับตัวข้อมูลภายในฐานข้อมูลต่อไป สำหรับส่วนการทำงานตางๆ ภายในดีบีเอ็มเอสที่ทำหน้าที่แปลคำสั่งไปเป็นการปฏิบัติการต่างๆ กับข้อมูลนั้น ประกอบด้วยส่วนการปฏิบัติการดังนี้

หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมู
§  แปลงคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบที่ฐานข้อมูลเข้าใจ
§  นำคำสั่งต่าง ๆ ซึ่งได้รับการแปลแล้ว ไปสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน เช่น การเรียกใช้ (Retrieve) จัดเก็บ (Update) ลบ (Delete) เพิ่มข้อมูล (Add) เป็นต้น
§  ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล โดยจะคอยตรวจสอบว่าคำสั่งใดที่สามารถทำงานได้ และคำสั่งใดที่ไม่สามารถทำงานได้
§  รักษาความสัมพันธ์ของข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้มีความถูกต้องอยู่เสมอ
§  เก็บรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลไว้ในพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้มักจะถูกเรียกว่า MetaData ซึ่งหมายถึง "ข้อมูลของข้อมูล"
§  ควบคุมให้ฐานข้อมูลทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
§  ควบคุมสถานะภาพของคอมพิวเตอร์ในการแปลสถาพฐานข้อมูล ส.ท





ระบบจัดการฐานข้อมูลที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
    1. ต้องมีการใช้งานทรัพยากรของคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ
    2. ต้องมีความเร็วในการตอบคำถามที่ผู้ใช้ถามอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (โดยปกติมักจะหมายถึงตอบทันทีทันใด)
    3. ต้องมีความเข้ากันได้กับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และข้อมูลที่มีใช้งานอยู่เดิม เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงให้เหลือน้อยที่สุด
    4. ต้องสามารถทำการเพิ่มหรือลบเรคคอร์ดของข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพรวมทั้งจะต้องยืดหยุ่นพอที่จะจัดการกับการเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลในฐานข้อมูล
    5. ต้องให้ความสะดวกับผู้ใช้ในการเรียกใช้งานฐานข้อมูล เช่น มีภาษาในการสอบถามข้อมูล (query language) รวมอยู่ด้วย
    6. ต้องมีระบบรักษาความถูกต้องของข้อมูลโดยการสำรองข้อมูล รวมทั้งป้องกันผู้ใช้จากการทำงานผิดพลาดต่าง ๆ
    7. ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูลในฐานข้อมูลนั้น เช่น มีคุณสมบัติการตรวจสอบ และรหัสพิเศษในการเข้าใช้งาน

13 มิ.ย. 2554

นิทานพื้นบ้านนานาชาติและความเชื่อเก่า ๆ แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน เกี่ยวกับอุตุนิยมวิทยา

นิทานพื้นบ้าน
  • ม้าจะวิ่งอย่างตื่นตระหนกก่อนที่จะมีลมพายุรุนแรงพัดมา
  • หมูจะโกยเอาฟาง ใบไม้และกิ่งไม้มารวมกันไว้ก่อนจะมีพายุกระหน่ำ
  • ดอกไม้จะหุบลงก่อนหน้าพายุจะเกิด
  • ถ้าเห็นวัวจ่าฝูงนำหน้าลูกฝูงออกไปหากินกลางทุ่ง แสดงว่าจะมีฝนตกในไม่ช้า
    แต่ถ้าเห็นลูกฝูงเดินนำหน้าจ่าฝูง อากาศจะเอาแน่นอนไม่ได้
  • อาจมีฝนฟ้าคะนองอย่างรุนแรง ถ้าคุณเห็นสุนัขกินหญ้า
    (เหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นเกือบทุกครั้ง ก่อนที่จะมีพายุทอร์นาโดอย่างรุนแรงขึ้น)
  • หมาป่าจะหอนอย่างต่อเนื่องมากขึ้น ก่อนเกิดพายุ
  • ฝูงมดจะง่วนอยู่ทั้งวัน ฝูงริ้นจะรุมตอมกัด จิ้งหรีดจะกรีดร้องดังขึ้น
    แมงมุมจะไต่ลงจากรัง แมลงวันจะออกันอยู่แต่ในบ้าน ก่อนพายุฝนฟ้าคะนองอย่างรุนแรง
  • อาทิตย์แดงฉานในยามเย็น เมฆหมอกสีเทาในยามเช้า เป็นสัญญานสำหรับวันอันสดใส
  • เมฆหมอกสีเทาในยามเย็น อาทิตย์แดงฉานในยามเช้า เตรียมเอาหมวกเอาร่มไปด้วยก่อนออกจากบ้าน
  • เมื่อเมฆก้อนเล็กเข้ารวมตัวกัน และหนามากขึ้น จะมีฝนตกในไม่ช้า
  • ดอก Dandelion หุบก่อนฝนกระหน่ำ
  • ถ้าใบไม้ในฤดูใบไม่ร่วง ค่อย ๆ ร่วงอย่างช้า ๆ ให้เตรียมตัวรับฤดูหนาวอันแสนนาน
  • เมื่อใบไม้ควำกลับใบลง พยากรณ์ได้เลยว่าจะมีลมแรง และพายุกระหน่ำ
  • นกร้องจ๊อกแจ๊กจอแจเมื่อฝนจะตก
  • นกบินเกาะสายไฟบ่งชี้ว่าฝนจะตก
  • ก่อนพายุกระหน่ำ วัวจะนอนลง และไม่ยอมออกไปทุ่ง
  • เมื่อแมงมุมชักใยในตอนเที่ยง อากาศจะดีขึ้นในอีกไม่นาน
    ถ้าแมลงหมาร่าสร้างรังในที่สูง ฤดูหนาวจะยาวนานและรุนแรง
  • ในตอนเย็นคุณบอกว่า "อากาศจะดี ท้องฟ้าจึงมีสีแดง"
    และในตอนเช้า "จะมีฝนตกในวันนี้ถ้าท้องฟ้ามีสีแดง แลดูน่ากลัว" Matthew 16:2 
  • มันจะเป็นฤดูหนาวที่หนาวเหน็บ และเต็มไปด้วยหิมะ ถ้า:
    - กระรอกสะสมอาหารไว้จำนวนมาก
    - ตัว Beaver สร้างรังมั่นคงแข็งแรงขึ้นกว่าปกติ
    - ขนบนตัวหมีและม้าหนาเร็วขึ้นในตอนต้นฤดู
    - กระดูกหน้าอกของไก่งวงที่ถูกเตรียมไว้ทำอาหารมีสีม่วงเข้ม
  • ฤดูร้อนที่รุนแรงแสดงว่าจะมีลมแรงในฤดูใบไม้ร่วง
  • ในฤดูหนาวที่มีลมแรง จะมีฝนตกหนักในฤดูฝน
  • ฤดูใบไม้ผลิที่มีฝนมาก หน้าร้อนนี้จะแล้งและร้อนจัด
  • ฤดูร้อนที่แล้งและร้อนจัด ฤดูใบไม้ร่วงจะมีลมแรง
  • เดือนที่เริ่มต้นดี มักจะมีอากาศเลวร้ายในปลายเดือน
  • ถ้าอากาศอบอุ่นช่วงคริสมาส อากาศจะหนาวเหน็บในช่วงอีสเตอร์
  • ท้องฟ้าเปลี่ยนเป็นสีเขียวในช่วงพายุฝน จะมีลูกเห็บตามมา
  • ลมเปลี่ยนทิศตามเข็มนาฬิกา จะทำให้ท้องฟ้าโปร่ง
  • ลมเปลี่ยนทิศทวนเข็มนาฬิกา พายุใกล้เข้ามาแล้ว
  • เมื่อมองออกไปนอกหน้าต่าง แล้วเห็นสุนัขกระโดดไปรอบ ๆ พร้อมทั้งตะกุยตะกาย เป็นสัญญานว่าจะมีลูกเห็บตก
  • เมื่อสุนัขในบ้านมีท่าทางหงอย ๆ นอนยังกะป่วยเป็นอัมพฤกษ์ อาจมีฝนตกหนักมากถึง 5 ชั่วโมง
Tip & Trick ในการดูว่าอากาศมีความชื้นและอุณหภูมิเป็นอย่างไร
  • ในการหาว่าอากาศมีความชื้นมากน้อยแค่ไหน ให้นำไม้บรทัดมาอันหนึ่ง ชูขึ้นไปในอากาศ ให้พาดไปกับแนวไอน้ำสีขาวที่พ่นออกมาจากส่วนท้ายของเครื่องบิน ให้แน่ใจว่าไม้บรรทัดอยู่ตรงจุดเริ่มต้น หรือปลายสุดของแนวไอพ่นนั้น หลังจากนั้น เลื่อนไม้บรรทัดไปตามแนวไอพ่นเพื่อวัดความยาวของมัน ทุก ๆ 12 นิ้ว
    ตัวอย่าง เช่น: 12" + 12" + 12" + 12" = 48"
    ดังนั้น จะได้ 12" จำนวน 4 ครั้ง (4 ฟุต) คูณด้วย 10 = 4x10 = 40 เป็นต้น
    ถ้าแนวไอพ่นยาวเท่ากับ 58" ก็จะได้เป็น 12" + 12" + 12" + 12" + 6" = 54" (ปัดเศษที่เหลือ 4 นิ้วทิ้งไป หรือปัดขึ้นเป็น 60"ก็ได้)
    ซึ่งคิดออกมาได้เป็น 4.5 (4 ฟุตครึ่ง) เมื่อคูณด้วย 10 = 45 นั่นคือ ความชื้นสัมพัทธ์ = 45% RH
  • วางผลของต้นสนไว้ข้างนอกบ้าน เราสามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงของมันได้ว่า มันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อความชื้นเพิ่มขึ้น?
    นั่นคือ มันจะหุบลงเมื่อมีอากาศชื้นเพื่อป้องกันเมล็ดของมัน..
  • ใช้จิ้งหรีดเป็นเทอร์โมมิเตอร์ประจำบ้านได้อย่างดี!!
    ในช่วงตอนเย็น เมื่อจิ้งหรีดอยู่ในพงหญ้าที่เย็น ให้นับจำนวนเสียงร้องจี๊ด ๆ ๆ ของมัน ภายในเวลา 14 วินาที คุณจะได้ค่าของอุณหภูมิอากาศของที่แห่งนั้น (อุณหภูมิอากาศอาจจะแตกต่างจากจุดที่คุณยืนอยู่บ้าง)..
  • ฤดูร้อนที่ร้อนระอุ เป็นเครื่องหมายบอกถึง ฤดูหนาวที่หนาวเหน็บ, ฤดูฝนที่แห้งแล้ง เป็นเครื่องหมายบอกถึง ฝนจะตกเป็นบริเวณกว้างระหว่างช่วงฤดูร้อน
    ฤดูใบไม้ร่วงที่ลมพัดแรง มักจะตามมาด้วยฤดูหนาวที่แสนสบาย
  • น้ำค้างแข็งครั้งแรกในฤดูใบไม้ร่วงจะเกิดขึ้นประมาณ 6 เดือน หลังจากพายุฟ้าคะนองครั้งแรกในฤดูฝน
  • ดูลักษณะของหมีที่มีขนปกคลุม เพื่อพยากรณ์ฤดูหนาว...
    ในนิทานพื้นบ้านจะกล่าวไว้ว่า ถ้าแถบสีน้ำตาลบนตัวหมี กว้างกว่าแถบสีดำ แสดงว่าฤดูหนาวนั้นจะยาวนาน และรุนแรง
Tip สำหรับคนปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้าน..
  • เป็นเกร็ดเล็กน้อยเมื่อท่านกำลังคิดจะรดน้ำในสวนของท่านสำหรับช่วงหน้าร้อนนี้!!! เพื่อเป็นการประหยัดเงินและเวลาของท่านครับ!!
    เป็นการดีกว่าที่จะรดน้ำในช่วงเย็น แทนที่จะเป็นตอนบ่าย ๆ เพราะในวันที่อากาศร้อน ท่านจะเสียน้ำไปมากกว่า 50% เนื่องจากการระเหยของน้ำ ในขณะที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงเหนือศรีษะ!!
    เช่นกัน บางครั้งเมื่อท่านรดน้ำในขณะที่ดวงอาทิตย์อยู่เหนือศรีษะของท่านนั้น มันจะเป็นการทำลายต้นไม้เหล่านั้นเสียมากกว่า เพราะน้ำจะร้อนขึ้น แต่สิ่งเลวร้ายเกี่ยวกับการรดน้ำในตอนเย็นก็คือ เมื่อดวงอาทิตย์ไม่มี น้ำก็จะระเหยได้ช้า ดังนั้นจึงทำให้มีน้ำเหลือค้างบนพื้นหญ้าตลอดคืน และโรคราน้ำค้างอาจเกิดขึ้น และทำลายต้นไม้ของท่านได้
Tip สำหรับการพยากรณ์อากาศ
ลองหาก้อนหินมาซักก้อนจากที่ไหนก็ได้ และวางมันไว้ซักแห่งตรงไหนก็ได้ เช่น ในลานบ้าน หรือในภาชนะอะไรซักอย่าง!
นั่นละสิ่งที่ท่านต้องเตรียม แล้วตอนนี้ท่านก็พร้อมที่จะพยากรณ์อากาศแล้ว!!!!!
แต่ถ้าท่านไม่ต้องการใช้ก้อนหิน หรือหาไม่ได้ ท่านก็สามารถใช้ม้า..ม้าที่ท่านเลี้ยงไว้นะครับ ไม่ใช่ม้านั่งหรือแม่แก้วหน้าม้าคนข้างกาย แทนกันได้ครับ อะไรยากง่ายกว่ากันก็ลองดู...!!!
  • ถ้าเห็นมันแห้งสนิท แสดงว่าอากาศดี
  • แต่ถ้ามันเปียกชื้น แสดงว่าฝนกำลังตก
  • ถ้ามันเป็นสีขาว แสดงว่ากำลังมีหิมะตก
  • ถ้ามันหายไป..... แสดงว่ามีพายุใหญ่
ภูมิปัญญาชาวบ้านในการพยากรณ์อากาศระยะสั้น ๆ
  • ถ้าห่านร้องเสียงแหลม หมายถึง สภาพอากาศดี
  • ถ้าห่านร้องเสียงทุ้ม หมายถึง สภาพอากาศแย่
  • นกต่าง ๆ บินต่ำ ๆ คาดว่าน่าจะมีฝนตก และลมพัดแรง
  • ถ้านก lark บินขึ้นสูง คาดว่าอากาศจะดี
  • เมื่อฝูงนกนางแอ่นบินขึ้นสูง และบินเล่นกันในอากาศ มันบอกเราได้ว่า ท้องฟ้าจะโปร่ง
  • ห่านป่าจะบินสูงในอากาศที่สดใส และบินต่ำในเมื่ออากาศเลวร้าย
  • ทุกอย่างจะสดใส เมื่อห่านร้องเสียงแหลม
  • ถ้าเจ้าไก่ตัวผู้เกิดขันก่อนที่เราจะเข้านอน จะมีฝนตกกลางคืนและตอนเช้ามืด
  • ถ้านกหากินกลางคืนร้อง แสดงว่าจะมีฝนตก
  • เมื่อห่านร้องเอะอะ ฝนใกล้จะตก
  • เมื่อเป็ดร้องเสียงดัง เป็นสัญญานว่าจะมีฝนตก
  • เสียงร้องของนกเค้าแมวจะนำฝนมาด้วย
  • ถ้านกกระจอกทำเสียงดังเอะอะ ฝนกำลังจะตามมา
  • เมื่อนกแก้วทำเสียงผิวปาก คาดว่าฝนจะตก
  • ปลาจะกินเหยื่อดีที่สุดช่วงก่อนฝนตก
  • เมื่อปลากระโดดแถวผิวน้ำ และกินเหยื่ออย่างกระหาย ฝนจะตกในไม่ช้า
  • เมื่อปลาโลมาออกมาเล่นคลื่น จะมีพายุเกิดขึ้น
  • ปลาเทร้ากระโดดขึ้นสูง เมื่อฝนใกล้ตก
  • ปูทะเลอพยพขึ้นบก และsrives on land to a roam.
  • ฟองขาวเหนือพื้นน้ำที่เคยสงบเงียบ หมายถึงฝนที่กำลังมา
  • หนองน้ำจะเปล่งแสงอันน่าขนลุกออกมาก่อนที่ฝนจะตก
  • บ่อน้ำจะขุ่นดำก่อนพายุใหญ่
  • จะมีคราบฟองน้ำลอยในแม่น้ำก่อนฝนจะตก
  • เมื่อฟองอากาศลอยขึ้นมาบนผิวหน้ากาแฟ และรวมตัวเข้าด้วยกัน แสดงว่าอากาศดีกำลังมา แต่ถ้าฟองแตกออกจากกัน สภาพอากาศที่คุณไม่ต้องการกำลังจะเกิดขึ้น
  • คนงานเหมืองใต้ดินสามารถได้กลิ่นของฝนที่กำลังผ่านมา
  • เมื่อท้องร่องและบ่อน้ำส่งกลิ่นเหม็นออกมา ให้ระวังฝนตกหนักและพายุกระหน่ำ
  • เมื่อน้ำเดือดเหือดหายไปหมดเร็วกว่าปกติมาก ให้ระวังฝนตก
  • ถ้าทางเดินเท้ากลายเป็นสีแดงอย่างสนิมเหล็ก ฝนกำลังมา
  • เมื่อกระจกขุ่นมัว ให้ระวังลมแรง เมื่อกระจกใสแจ่ม ถึงเวลาเล่นว่าว
  • ในฤดูหนาว ถ้าบารอมิเตอร์ลดต่ำลงแสดงว่าหิมะจะตกหนัก และอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น
  • ถ้าเมฆเซอรัสเกิดขึ้นในสภาพอากาศที่บารอมิเตอร์ลดลง มั่นใจได้เลยว่าจะมีฝนตก
  • พายุฟ้าคะนองในฤดูร้อนที่ไม่ทำให้บารอมิเตอร์ลดต่ำลง แสดงว่าเกิดขึ้นแค่บริเวณนั้น และจะเกิดขึ้นไม่นาน
  • บ่อน้ำพุจะเริ่มพุ่งขึ้นมา ก่อนหน้าจะมีฝนตก
  • Sap จากต้นเมเปิลจะไหลเร็วขึ้นมาก ก่อนเกิดฝนตก
  • ระดับที่พุ่งสูงขึ้นของบ่อน้ำพุหรือในบ่อน้ำ แสดงว่ามีฝนตก
  • น้ำพุในหลาย ๆ แห่งที่เหือดแห้ง จะกลับมีน้ำไหลดีอีกครั้งก่อนฝนตก
  • บ่อน้ำจะมีเสียงดังปุด ๆ และขุ่นเป็นโคลน ก่อนจะมีพายุใหญ่
  • เขม่าจะตกลงมา ก่อนที่ฝนจะตก
  • ถ้าถ่านไฟที่กำลังลุกไหม้มีเปลวไฟติดก้นหม้อตลอด แสดงว่าจะมีพายุในไม่ช้า
  • เปลวไฟที่ลุกไหม้มีสีซีดกว่าปกติ และมีเสียงดังพึบพับอยู่ข้างใน เป็นเครื่องหมายที่เด่นชัดของพายุ
  • ไม้ที่กำลังลุกไหม้จะแตกปะทุมากขึ้น ก่อนฝนและหิมะจะมา
  • ฝูงแมลงสาบจะดูกระตือรือล้นมากขึ้น ก่อนที่ฝนจะตก
  • ตั๊กแตนจะส่งเสียงร้องเมื่ออากาศร้อนและแห้ง
  • ดอกบัวดินจะบานออก แสดงว่าอากาศจะร้อน แต่ถ้ามันหุบแสดงว่าอากาศจะหนาว
  • ดอกทิวลิปจะบานเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น และจะหุบอีกครั้งเมื่ออุณหภูมิลดลง
  • ดอกเดซี่จะหุบก่อนฝนตก
  • ดอกไม้จำพวกยี่สุ่น ดาวเรืองจะบานประมาณ 6-7 โมงเช้า และจะไม่หุบจนถึง 4 โมงเย็น ซึ่งเราอาจจะใช้ในการประมาณลักษณะอากาศที่ไม่แปรปรวนได้
  • เมื่อกล้องยาสูบมีกลิ่นแรงขึ้น แสดงว่าฝนใกล้ตก
  • ถ้ากลิ่นหอมของดอกไม้ส่งกลิ่นได้แรงและไกลขึ้นอย่างผิดปกติ คงจะมีฝนตกในไม่ช้า
  • ดอกไม้จะมีกลิ่นมากขึ้นก่อนฝนตก
  • ถ้าสุนัขยกหางของมันสูงขึ้นในขณะเดิน อากาศกำลังจะมีการเปลี่ยนแปลง
  • แมวจะตะกุยตะกายเสาก่อนมีลมแรง แมวจะล้างหน้าของมันก่อนมีฝนตก และจะนั่งหันหลังให้เตาผิงก่อนมีหิมะตก
  • แมวจะแสดงอาการหางตั้งและขนลุกพองแสดงว่าลมแรงกำลังพัดมา
  • เมื่อเห็นใยแมงมุมปลิวพริ้วลม แสดงว่าอากาศจะแห้งแล้งในไม่ช้า
  • แมงมุมจะขยายและซ่อมแซมใยก่อนอากาศเลวร้าย
  • ดวงอาทิตย์สีแดงดูฉ่ำน้ำ แสดงว่าอีกนานกว่าจะแล้ง
  • ขณะดวงอาทิตย์ตกแลดูสว่างชัดเจน แสดงว่าเป็นลมฝ่ายตะวันออกซึ่งคุณไม่ต้องกังวลใด ๆ
  • เมฆที่ปกคลุมส่วนยอดของดวงอาทิตย์ขณะกำลังตก บ่งชี้ถึงฝน
  • เมื่อดวงอาทิตย์ตกพร้อมกับแสงสีแดงฉานปกคลุมท้องฟ้า เราจะได้พบกับพายุลมแรงในตอนเช้า
  • แสงเงินแสงทองในยามเย็น สีเทาหมอกในยามเช้า เหล่าพิลกริมจะออกทำงาน
  • ยามเย็นแสงส่องฟ้า ยามเช้าหมอกมัว หมู่นักเดินทางเริ่มออกเดิน
    แต่ถ้าฟ้ามัวหม่นในยามเย็น ฟ้าแดงในยามเช้า เตรียมหมวกใส่หัวได้เลย
  • ถ้าดวงอาทิตย์ตกแดงฉานวันนี้ วันพรุ่งนี้จะมีฝน ถ้าตกแบบหม่นมัว พรุ่งนี้เป็นวันดี
  • ยามเย็นสีเทา ยามเช้าเป็นสีแดง คนเลี้ยงแกะเตรียมแขวนคอตาย เมื่อผนังหินเปียกชื้น คะเนว่าจะมีฝน
  • ถ้าแผ่นโลหะมัว จานชามกลับชื้น เป็นสัญญานของฝน
  • หลุมบ่อบนผิวของก้อนหินและหินชนวน แสดงว่ามีการคายความชื้นออกมาจากตัวก้อนหิน
  • เมื่อก้อนหินชื้นขึ้น แสดงว่าจะมีฝนตก
  • ดวงจันทร์สีซีด ฝนตก ดวงจันทร์สีแดง ลมแรง
    ดวงจันทร์สีขาว ไม่มีทั้งฝนทั้งลม
  • หน้าจันทร์ดั่งชาด หยาดฝนหล่นกระจาย
  • วันไหนดวงจันทร์ขึ้นสุกสว่าง อากาศดี
  • เมื่อคุณเห็นดวงจันทร์ขึ้นมามีสีแดง และดูเห็นเป็นดวงใหญ่ พร้อมกับมีเมฆปกคลุม มันกำลังบอกคุณว่าจะมีฝนตกภายใน 12 ชั่วโมงข้างหน้า
  • ถ้าคุณเห็นดวงจันทร์เป็นเงามืดที่สุดตรงบริเวณขอบฟ้า ให้ระวังฝนไว้เถิด
  • ถ้าเกลือในขวดของคุณจับตัวเป็นก้อนชื้น ๆ และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ฝนจะตกในเวลาไม่นานเกินรอ
  • เมื่อเนยแข็งรสเค็มของคุณอ่อนตัวลง จงระวังฝน
  • ใบยาเส้นจะชื้นขึ้น ก่อนฝนตก
  • พื้นขัดมันจะลื่นมากขึ้น ก่อนที่ทุกอย่างจะเปียกปอนไปด้วยฝน
  • ถ้ามีน้ำค้างเกาะยอดหญ้าในยามเช้า วันนั้นอากาศจะดี
  • ถ้าคุณเห็นน้ำค้าง คุณจะไม่เห็นฝนผ่านมาเลย
  • หมอกลอยขึ้นเหนือบึงน้ำ พรุ่งนี้อากาศจะดี
  • พระจันทร์ชัดแจ๋ว อากาศหนาวจะมาเยือน
  • เมื่อพืชจำพวกมอสบนภูเขาอ่อนนุ่มและดูสดใส ฝนคงตกในไม่ช้า
  • เมื่อต้นข้าวโพดยืนต้นแห้งตาย ออกไปตากอากาศได้เลย ไม่ต้องเสี่ยงกับฝนฟ้า
  • บานประตูและลิ้นชักจะฝืดขึ้น ก่อนฝนตก
  • เชือกป่านที่มัดอยู่จะแน่นขึ้น แสดงว่าจะมีฝนตก แต่เมื่ออากาศดีขึ้นมันจะกลับหลวมอีกครั้ง
  • ปมเชือกจะแน่นขึ้น เชือกป่านจะหดสั้นลง ก่อนฝนตก
  • เมื่อกุญแจในบ้านแบบกระโจมหนังชื้นขึ้น ฝนตกแน่นอน
  • สายกีต้าร์จะหดสั้นลงก่อนฝนตก
  • ดอก Dandelion จะหุบก่อนฝนตก
  • เมื่อต้นไม้หุบฝักของมัน คาดได้เลยว่าฝนจะตก
  • ต้นไม้จำพวกที่มีใบห่อจะเปิดกว้างขึ้นก่อนฝนตก
  • ต้นไมยราบหุบใบของมันก่อนฝนตก
  • เมื่อต้นข้าวโพดยืนตายแห้ง เป็นหน้าแล้ง เมื่อต้นข้าวโพดยืนโยกเยก ฝนกำลังมา
  • ถ้าควันจากปล่องลอยต่ำลงมาที่พื้น ทำท่าจะมีฝนตก
  • ในบริเวณรอบกองไฟจะมีควันมากขึ้น ก่อนที่ฝนจะตก
  • ควันจากโรงงานจะรบกวนมากยิ่งขึ้น เมื่อใกล้ฝนตก
  • กบร้องก่อนฝนตก แต่จะเงียบสนิทอีกครั้งเมื่อยามหน้าแล้ง
  • ถ้าคุณเห็นคางคกเพิ่มจำนวนมากขึ้น บอกได้เลยว่าใกล้ฝนเต็มที
  • ถ้ากบร้องเซ็งแซ่ในช่วงวันฝนตกที่หนาวเหน็บ อากาศร้อนหน้าแล้งกำลังมา
  • ถ้าไส้เดือนจำนวนมากปรากฏขึ้น ฝนจะตามมา
  • ถ้าคุณเห็นเห็ดบางชนิดในตอนเช้า ฝนจะตกในตอนเย็น
  • ถ้าคุณเห็นกบกระโดดข้ามถนน แสดงว่าพวกมันกำลังคอยฝน
  • กิ่งไม้แห้งหักหล่นในอากาศที่เงียบสงบ แสดงว่าจะมีฝน
  • ถ้าเห็นเมฆจำพวกเมฆก้อนลดน้อยลงในตอนเย็น พรุ่งนี้อากาศจะดีขึ้น
  • ถ้าเห็นเมฆจำพวกเมฆก้อนโตขึ้นเรื่อย ๆ ทางด้านเหนือลมและมีลมแรงในเวลาพระอาทิตย์ตก ระวังฝนฟ้าคะนองในตอนกลางคืน
  • ถ้าเห็นเมฆปุยคล้ายขนแกะแผ่กระจายในท้องฟ้า แน่ใจได้ว่าจะไม่มีฝนกลางฤดูร้อน
  • เมื่อเห็นเมฆจมตัวลงบริเวณเชิงเขา อากาศจะแย่ลง เมื่อเห็นเมฆลอยตัวขึ้นเหนือภูเขา อากาศจะดีขึ้น
  • หลังจากเมฆดำผ่านพ้น อากาศจะกลับดี
  • ถ้าเห็นเมฆมาก แล้วกลับลดน้อยลง อากาศดีแน่นอน
  • ยอดเมฆกลมมน มีฐานแบนราบ นำฝนมาด้วย
  • เมื่อภูเขาและหน้าผาปกคลุมด้วยก้อนเมฆ ฝนฟ้าคะนองอย่างรุนแรงจะเกิดขึ้น
  • ถ้ามองไปที่ภูเขา เห็นยอดปกคลุมด้วยเมฆหนา ฝนจะตกใน 6 ชั่วโมง
  • ถ้าเมฆก้อนโตสีขาว ในไม่ช้าทุ่งข้าวโพดจะถูกกระหน่ำด้วยสายฝน
  • เมฆก้อนขาวบนฟ้าสีคราม น่ากลัวฝน
  • พระอาทิตย์ยังส่อง ฝนอย่างมากแค่ครึ่งชั่วโมง
  • เมฆก้อนเล็ก กลม ๆ มาพร้อมกับลมเหนือ อากาศดีอีกวัน
  • เมฆยิ่งสูง อากาศยิ่งดี
  • ควันยังลอยขึ้น แต่ไม่สูงมาก เมฆจะไม่ก่อตัว อากาศก็จะแล้ง
  • เห็นเมฆเกล็ดปลา เมฆหางม้า ให้ลดใบ(เรือ)ลง

11 มิ.ย. 2554

ข้อมูลเชิงพื้นที่

ข้อมูลเชิงพื้นที่
Spatial Distribution  การกระจายเชิงพื้นที่ 
เป็นการกระจายเชิงพื้นที่ การที่พื้นที่เิกิดการกระจุกตัวหรือกระจายตัวในบริเวณกว้างๆ ขึ้นอยู่กับพื้นที่นั้นๆว่าจะกระจายหรือกระจุกตัวในลักษณะอย่างไร เช่น การกระจายตัวของผู้ป่วยไข้เลือดออกในประเทศไทย


Spatial Differentiation ความแตกต่างเชิงพื้นที่
ในพื้นที่แต่ละที่ มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพทางกายภาพและชีวภาพ ทรัพยากรที่มีความหลาหลายแตกต่างกัน เช่น ความแตกต่างของลักษณะภูมิอากาศในประเทศไทย ภาคเหนือลักษณะอากาศเย็นและหนาวจัดในช่วงฤดูหนาวเมื่อเทียบกับภาคกลางที่มีอากาศเกือบร้อนในช่วงฤดูเดียวกัน เนื่องจากภาคเหนือมีภูเขาสูง แต่ภาคกลางส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม








Spatial Diffusion การแพร่กระจายเชิงพื้นที่
การแพร่กระจายจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยมีการกระจายอย่างรวดเร็ว ต่างจากการกระจายเชิงพื้นที่ เช่น การกระจายของเชื้อ Escherichia coli หรือ E. coli (อี. โคไล) ที่กำลังดังมากในทวีปยุโรป ทั้งที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้




Spatial Interaction ความปฏิสัมพันธ์เชิงพื้นที่
เป็นการกระทำของสองสิ่งที่มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกัน เช่น บริเวณชุมชนที่ีมีประชากรหนาแน่นก็ควรมีร้านสะดวกซื้อไว้หลายๆแห่ง เพื่อรองรับผู้คนที่เข้ามาใช้บริการ และควรตั้งอยู่ใกล้กับการจราจรสะดวก ไม่ใช่ไปตั้งอยู่ในซอยลึกๆ


Spatial Temporal ช่วงเวลาในพื้นที่
ช่วงเวลาในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไปในช่วงของการแบ่งเขตเวลา การกระทำหรือกิจกรรมที่ก็จะต่างกันออกไปตามช่วงเวลาของพื้นที่แต่ละส่วน เช่นการเปลี่ยนแปลงของอุณภูมิโลกตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1961-2006


9 มิ.ย. 2554

เขียนวิจารณ์หนังหรือเพลง

ภาพยนตร์:เรื่อง 2012 วันสิ้นโลก






ตัวอย่างภาพยนตร์

         ภาพยนตร์เรื่อง 2012 เป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับแนวหายนะของโลกนำไปสู่จุดจบของโลก เป็นรูปแบบของภัยพิบัติต่างๆ เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ ผู้คนที่รอดชีวิตต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด คนแต่ละคนก็ต่างเอาตัวรอดโดยบางทีก็ไม่นึกถึงผู้อื่น เมื่อถึงเวลาภัยมาถึงตัว คนเราจะแสดงออกถึงความเป้นมนุษย์หรือสัตว์ร้าย จะเอาตัวรอด หรือจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ จะกล้าหาญ หรือจะขลาดกลัว จะรับผิดชอบ  หรือ จะเอาตัวรอด หนังเรื่องนี้ได้ฉายภาพธาตุแท้ของมนุษย์ออกมาให้ปรากฏ



ตัวอย่างประโยคจากภาพยนตร์

"พวกเราจะเล่าเรื่องราวเหล่านี้ให้ลูกหลานของเราฟังว่าอย่างไร ให้บอกว่าวาระสุดท้ายของมนุษยชาตินั้นรอดมาได้เพราะความเห็นแก่ตัว อย่างงั้นน่ะเหรอ?"
"เมื่อใดที่เราสูญเสียการให้โอกาสแล้ว เมื่อนั้นเราก็สูญเสียความเป็นมนุษย์"
"ที่ใดที่เราอยู่ร่วมกันพร้อมหน้า นั่นแหละที่เราเรียกว่าบ้าน"




วิจารณ์

ด้านเนื้อเรื่อง:
  ทุกสิ่งที่สื่อออกมาผ่านเรื่องนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นจริงมากที่สุดคือ แผ่นดินไหวระดับสูงสุดถึง 10+ ริกเตอร์ ถึงขนาดแผ่นดินทั้งทวีปแตกสลาย แม็กม่าจะหลั่งไหลทะลักออกมา ณ อุทยานแห่งชาติเยลโล่สโตนของอเมริกา เกิดการระเบิดไปกว้างไกลครึ่งโลก อีกทั้งทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิสูงเสียดฟ้าถึง 1500 กิโลเมตรทลายทุกอย่างให้หายไปในชั่วพริบตา มีการให้สถานที่สำคัญๆ เช่นมหาวิหารเซนปีเตอร์ อนุสวารีย์วอชิงตัน อนุสาวรีย์พระเยซูที่ริโอดีจาเนโร ถูกทำลายโดยฝีมือจากธรรมชาติ ทั้งหมดนี้ในภาพยนตร์จะเล่าผ่านครอบครัวของ แจ็คสัน เคอร์ติส (Jackson Curtis แสดงโดย John Cusack) หนึ่งในหลายล้านชีวิตที่จำต้องเอาตัวรอดจากหายนะครั้งนี้ โดยไปยังทิเบตเพื่อขึ้นเรือที่ถูกสร้างขึ้นโดยรัฐบาลกว่า 46 ประเทศทั่วโลก แต่จริงๆแล้วทุกอย่างมันไม่ง่ายอย่างที่คิด...เพราะตั๋วขึ้นเรือมีราคาตั้ง 1 พันล้านยูโร
ด้านการแสดง:
  นักแสดงในเรื่องนี้แสดงได้ยอดเยี่ยมทุกคนจริงๆ เรื่องบทก็ถูกเขียนให้แสดงออกถึงอารมณ์ต่างๆในช่วงเวลาสุดท้ายหลายๆแบบของชีวิตได้อย่างสมจริง และยอดเยี่ยมที่สุด โดยเฉพาะตัวละครของเอเดรียน เฮมส์ลีย์ (Adrian Helmsley แสดงโดย Chiwetel Ejiofor) เพราะสามารถแก้ไขปัญหาอย่างใจเย็น ถึงจะโดนเถียง โดนด่าก็ตาม

ด้านดนตรี:
  ในเรื่องนี้ทำเสียงประกอบเอ็ฟเฟ็กถล่มถลายที่สร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ได้อย่างครบถ้วนทำให้ภาพเทคนิคที่ออกมาเข้ากันได้ดี แม้แต่องค์ประกอบเล็กๆน้อยๆเช่น เศษหิน น้ำกระจาย กระแทก การระเบิด กระจกแตก แผ่นดินแยก และอื่นๆอีกมากหมาย ส่วน End Credits ก็มีเพลง Time For Miracles ที่บรรเลงขึ้น เพื่อยกระดับอารมณ์ให้ประทับใจในตัวหนังได้ดียิ่งขึ้น

ด้านเทคนิคพิเศษ:
  ส่วนนี้สำคัญต่อเรื่องนี้ที่สุดเพราะต้องสร้างเทคนิคที่มีสเกลใหญ่ระดับล้างโลกทั้งคลื่นสึนามิ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด รวมทั้งสิ่งของและสถานที่ต่างๆที่ถูกทำลายจำพวก บ้าน ต้นไหม้ รั้ว รถ และอื่นๆอีกมากหมาย ซึ่งทำออกมาได้สมจริงที่สุด ทำให้เกิดการปลูกฝังความคิดเกี่ยวกับประเด็นที่มีอยู่จริงๆให้แก่คนดูด้วยว่า "มีเวลาเหลือเพียงแค่ 3 ปีเท่านั้น คุณได้ใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่าที่สุดแล้วหรือยัง"
  ในบางจุดที่เป็นฉากแอ็คชั่นถล่มถลายของสิ่งปลูกสร้าง ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม เวลาที่ผมดู รู้สึกอยากร้องไห้จริงๆ...










8 มิ.ย. 2554

การจัดการฐานข้อมูล

การจัดการฐานข้อมูล 
       การจัดการฐานข้อมูล(Database Management) คือ การบริหารแหล่งข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อตอบสนองต่อการใช้ของโปรแกรมประยุกต์อย่างมีประสิทธิภาพและลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล รวมทั้งความขัดแย้งของข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์การ ในอดีตการเก็บข้อมูลมักจะเป็นอิสระต่อกันไม่มีการเชื่อมโยงของข้อมูลเกิดการ สิ้นเปลืองพื้นที่ในการเก็บข้อมูล เช่น องค์การหนึ่งจะมีแฟ้มบุคคล (Personnel) แฟ้มเงินเดือน (Payroll) และแฟ้ม สวัสดิการ (Benefits) อยู่แยกจากกัน เวลาผู้บริหารต้องการข้อมูลของพนักงานท่านใดจำเป็นจะต้องเรียกดูแฟ้มข้อมูลทั้ง 3 แฟ้ม ซึ่งเป็นการไม่สะดวก จงทำให้เกิดแนวความคิดในการรวมแฟ้มข้อมูลทั้ง 3 เข้าด้วยกันแล้วเก็บไว้ที่ ศูนย์กลางในลักษณะฐานข้อมูล (Database) จึงทำให้เกิดระบบการจัดการฐานข้อมูล (Database Management system (DBMS) ซึ่งจะต้องอาศัยโปรแกรมเฉพาะในการสร้างและบำรุงรักษา (Create and Maintenance) ฐาน ข้อมูลและสามารถที่จะให้ผู้ใช้ประยุกต์ใช้กับธุรกิจส่วนตัวได้โดยการดึงข้อมูล (Retrieve) ขึ้นมาแล้วใช้โปรแกรมสำเร็จรูปอื่นสร้างงานขึ้นมาโดยใช้ข้อมูลทีมีอยู่ในฐานข้อมูล แสดงการรวมแฟ้มข้อมูล 3 แฟ้มเข้าด้วยกัน
การประมวลผลในระบบสารสนเทศ
        จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่าข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาใช้สร้างเป็นสารสนเทศนั้นอาจอยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์หรืออาจอยู่ในรูปฐานข้อมูล ซึ่งการประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างระบบสารสนเทศนั้น ถ้าข้อมูลที่ถูกเก็บนั้นเป็นระบบแฟ้มข้อมูล เมื่อเปรียบเทียบกับระบบฐานข้อมูล จะพบว่าจะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ดังจะกล่าวในหัวข้อต่อไปนี้

ระบบการประมวลผลแฟ้มข้อมูล

        แรกเริ่มที่มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ หรือเพื่อสร้างสารสนเทศนั้นจะมีการเก็บกลุ่มของระเบียนต่าง ๆ ไว้ในแฟ้มข้อมูลที่แยกจากกันและจะเรียกว่าเป็นระบบการประมวลผลแฟ้มข้อมูล ถึงแม้ว่าระบบการประมวลผลแฟ้มข้อมูลนี้จะเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าระบบที่ทำด้วยมือ แต่ระบบแฟ้มข้อมูลนี้ก็ยังมีข้อจำกัดหลายอย่างด้วยกัน
ข้อดีของการประมวลผลในระบบแฟ้มข้อมูล1.)  การประมวลผลข้อมูลทำได้อย่างรวดเร็ว ค่าลงทุนในเบื้องต้นจะต่ำ อาจไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถมาก ก็สามารถทำการประมวลผลข้อมูลได้
2.) โปรแกรมประยุกต์แต่ละโปรแกรมสามารถควบคุมการใช้ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลของตนเองได้
ข้อเสียของการประมวลผลในระบบแฟ้มข้อมูล
การประมวลผลในระบบแฟ้มข้อมูล อาจมีข้อเสียที่เกิดขึ้นได้ ดังต่อไปนี้
1.)  มีความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Redundancy)        การใช้แฟ้มข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกันนี้ จะส่งผลให้เกิดข้อเสียในสิ่งต่อไปนี้
       
1.1)   ทำให้เสียเนื้อที่ในการใช้งานในหน่วยเก็บข้อมูลสำรองเช่นดิสก์
       1.2)   ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในแฟ้มหนึ่งก็จะต้องตามไปแก้ไขข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอื่นทุกแฟ้มที่มีข้อมูลนั้นอยู่ด้วยจึงอาจเกิดปัญหาที่เกี่ยวกับ ความขัดแย้งกันของข้อมูล (Data Inconsistency) เนื่องจากข้อมูลในแต่ละแฟ้มเกิดความไม่สอดคล้องกันขึ้น ซึ่งพบมากในระบบการประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูล

1.2) ความยากในการประมวลผลข้อมูลในแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้มข้อมูล    ในการสร้างรายงานของแต่ละระบบเช่นการสร้างรายงานการลงทะเบียน ว่าแต่ละวิชามีนักศึกษาคนใดบ้างที่ลงทะเบียนเรียน จะต้องมีการเขียนโปรแกรมประยุกต์เช่นโปรแกรมการลงทะเบียน เพื่อทำการดึงข้อมูลรหัสวิชา รหัสนักศึกษา จากแฟ้มข้อมูลการลงทะเบียน และต้องนำรหัสวิชาที่ได้ไปค้นชื่อวิชาและจำนวนหน่วยกิตที่มีรหัสวิชาตรงกันจากแฟ้มรายวิชา ส่วนรหัสนักศึกษาที่ได้ก็จะต้องนำไปค้นชื่อนักศึกษาที่มีรหัสตรงกันจากแฟ้มนักศึกษา ซึ่งโปรแกรมการลงทะเบียนที่เขียนจะต้องมีความซับซ้อนพอสมควร เนื่องจากต้องมีการจัดการกับแฟ้มข้อมูลมากกว่า 1 แฟ้มข้อมูลขึ้นไป
1.3) ไม่มีผู้ควบคุมหรือรับผิดชอบระบบทั้งหมด    เนื่องจากผู้เขียนโปรแกรมด้านใดด้านหนึ่ง ก็จะดูแลเฉพาะข้อมูลที่จะมีการใช้กับงานของตนเท่านั้น
1.4) ความขึ้นต่อกัน (Dependency)
    
 โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลมักจะเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมประยุกต์ที่สร้างขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ้ามีการเขียนโปรแกรมประยุกต์ด้วยภาษา COBOL โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลที่จะใช้เช่นชื่อเขตข้อมูลต่าง ๆ ขนาดของเขตข้อมูล จะต้องประกาศไว้ในส่วนของ DATA DIVISION ของโปรแกรมประยุกต์ ปัญหาก็คือว่าถ้ามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลเมื่อใด ก็จะต้องไปทำการแก้ไขโปรแกรมประยุกต์ คือต้องไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแฟ้มข้อมูลในส่วน DATA DIVISION นั้นด้วย
    จากข้อเสียดังกล่าวของการประมวลผลในระบบแฟ้มข้อมูล จึงเป็นที่มาของการพัฒนาระบบการประมวลผลแบบใหม่ เพื่อแก้ไขข้อเสียของการประมวลผลในระบบแฟ้มข้อมูล ซึ่งเรียกการประมวลผลแบบใหม่นี้ว่า "ระบบการประมวลผลฐานข้อมูล"
ระบบการประมวลผลฐานข้อมูล
    จากข้อจำกัดของระบบการประมวลผลแฟ้มข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จึงมีความพยายามคิดหาเทคโนโลยีการประมวลผลแบบใหม่ เพื่อเอาชนะข้อจำกัดดังกล่าว เทคโนโลยีหนึ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นมาแทนที่ระบบการประมวลผลแฟ้มข้อมูลได้แก่ ระบบการประมวลผลฐานข้อมูล
    คำว่า ฐานข้อมูล โดยทั่วไปจะหมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันไว้ในที่ที่เดียวกันในระบบการประมวลผลฐานข้อมูลจะมีรูปแบบวิธีการจัดการข้อมูลที่แตกต่างกันจากระบบแฟ้มข้อมูล มีองค์ประกอบเพิ่มขึ้นมาจากระบบการประมวลผลแฟ้มข้อมูลได้แก่องค์ประกอบที่เรียกว่า ระบบการจัดการฐานข้อมูล DBMS(Database Management System)
    DBMS จะช่วยในการสร้าง เรียกใช้ข้อมูล และปรับปรุงฐานข้อมูล โดยจะทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่างผู้ใช้และฐานข้อมูลให้สามารถติดต่อกันได้

รูประบบการประมวลผลฐานข้อมูล

    การทำงานที่ต้องผ่าน DBMS ทุกครั้งนี้จะทำให้การเขียนโปรแกรมประยุกต์มีความสะดวกยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้เขียนโปรแกรมไม่ต้องยุ่งเกี่ยวหรือสนใจว่าในทางกายภาพข้อมูลถูกเก็บอยู่อย่างไรในดิสก์ หรือแม้แต่วิธีการในการจัดการกับข้อมูลไม่ต้องสนใจว่าใช้วิธีแบบอินเด็กซ์ไฟล์ (Index File) หรือแบบอินเด็กซ์ซีเควนเชียวไฟล์ (Index Sequential File) เป็นต้น ผู้ใช้เพียงแต่ออกคำสั่งง่าย ๆ ในการเรียกใช้ข้อมูล เพิ่มข้อมูล ปรับปรุงข้อมูล หรือ ลบข้อมูลผ่านทาง DBMS แทน
ข้อดีของการประมวลผลข้อมูลในฐานข้อมูล
1.)  ข้อมูลมีการเก็บอยู่รวมกันและสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้2.)  ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
3.)  สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกันของข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้
4.)   การควบคุมความคงสภาพของข้อมูล ความคงสภาพ (Integrity) หมายถึง ความถูกต้อง ความคล้องจอง ความสมเหตุสมผลหรือความเชื่อถือได้ของข้อมูล
5.)  การจัดการข้อมูลในฐานข้อมูลจะทำได้ง่าย
6.)  ความเป็นอิสระระหว่างโปรแกรมประยุกต์และข้อมูล

7.)   การมีผู้ควบคุมระบบเพียงคนเดียว ซึ่งเรียกว่า DBA (Database Administrator) เป็นผู้ควบคุมและบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลทั้งหมด
ข้อเสียของการประมวลผลข้อมูลในฐานข้อมูล
       แม้ว่าการประมวลผลข้อมูลในฐานข้อมูล จะให้ข้อดีหลายประการแต่ก็จะมีข้อเสียอยู่บ้างเช่นกันในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1.)    การใช้งานฐานข้อมูลจะเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เนื่องจากราคา DBMS มีราคาค่อนข้างแพง นอกจากนี้การใช้ฐานข้อมูล จะต้องใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง เช่นต้องมีความเร็วสูง มีขนาดหน่วยความจำ และหน่วยเก็บข้อมูลสำรองความจุสูง เป็นต้น
2.)    การสูญเสียของข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง เช่น Index Pointer เสียเป็นต้น